Adjectives |
|
|
Adjectives คือ คุณศัพท์ หมายถึง คำที่ไปทำหน้าที่ขยายนามหรือสรรพนาม (ขยายสรรพนามต้องอยู่หลังตลอดไป) เพื่อบอกให้รู้ลักษณะคุณภาพหรือคุณสมบัติของนามหรือสรรพนามนั้นว่า เป็นอย่างไร? |
ได้แก่คำว่า |
|
good |
ดี |
bad |
เลว |
tall |
สูง |
dirty |
สกปรก |
wise |
ฉลาด |
red |
แดง |
fat |
อ้วน |
thin |
ผอม |
this |
นี้ |
those |
เหล่านั้น |
short |
สั้น |
white |
ขาว |
|
|
|
|
ชนิดของ Adjective |
|
|
|
Adjective ในภาษาอังกฤษแบ่งออกเป็น 11 ชนิด คือ |
1. Descriptive Adjective คุณศัพท์บอกลักษณะ |
2. Proper Adjective คุณศัพท์บอกสัญชาติ |
3. Quantitative Adjective คุณศัพท์บอกปริมาณ |
4. Numbearl Adjective คุณศัพท์บอกจำนวนแน่นอน |
5. Demonstrative Adjective คุณศัพท์ชี้เฉพาะ |
6. Interrogative Adjective คุณศัพท์บอกคำถาม |
7. Possessive Adjective คุณศัพท์บอกเจ้าของ |
8. Distributive Adjective คุณศัพท์แบ่งแยก |
9. Emphaszing Adjective คุณศัพท์เน้นความ |
10. Exclamatory Adjective คุณศัพท์บอกอุทาน |
11. Relative Adjective คุณศัพท์สัมพันธ์ |
|
|
1. Descriptive Adjective คือ "คำคุณศัพท์บอกลักษณะ" หมายถึง คำที่ใช้ลักษณะหรือคุณภาพของคนสัตว์ สิ่งของและสถานที่เพื่อให้รู้ว่า นามนั้นมีลักษณะอย่างไร ได้แก่คำว่า |
good, bad, tall, shot, black, fat, thin, fat, thin, clever, foolish, poor, rich, brave, cowardly, pretty, agly, happy, sorry, etc. |
ตัวอย่างเช่น : |
|
The rich man lives in the big house. (คนรวยอาศัยอยู่บ้านหลังใหญ่) |
A clever pupil can answer the difficult problem. (นักเรียนที่ฉลาดสามารถตอบปัญหายากได้) |
The black cat cuagh a smail bird. (แมวดำตัวนั้นจับนกได้) |
ข้อสังเกต : rich, big, clever, difficult, black และ small เป็นคุณศัพท์บอกลักษณะ |
|
|
2. Proper Adjective คือ "คุณศัพท์บอกสัญชาติ" หมายถึง คำที่ไปขยายนามเพื่อบอกสัญชาติ ซึ่งอันที่จริงมีรูปเปลี่ยนมาจาก Proper noun นั่นเอง ได้แก่ |
Proper Noun |
|
(เป็นนามเฉพาะ) |
|
England |
|
America |
|
Thailand |
|
India |
|
Germany |
|
Italy |
|
Japan |
|
China |
|
|
|
ตัวอย่างเช่น : |
|
John employs a chinese cook. (จอห์นจ้างพ่อครัวชาวจีนคนหนึ่ง) |
Do you learn French literature? (คุณเรียนวรรณคดีฝรั่งเศสหรือ) |
The English language is used by every nation. (ภาษาอังกฤษใช้ในทุกประเทศ) |
ข้อสังเกต : Chinese, French, English เป็นคำคุณศัพท์บอกสัญชาติ |
|
|
3. Quantitive Adjective คือ "คำคุณศัพท์บอกปริมาณ" หมายถึง คำที่ไปขยายนาม เพื่อบอกให้ทราบปริมาณของสิ่งเหล่านั้นว่า มีมากหรือน้อย (แต่ไม่บอกจำนวนแน่นอน)ได้แก่ |
much, many, little, some, any, enough, half, great, all, whole, sufficent, etc. |
|
|
He ate much rice at school yesterday. |
(เขากินข้าวมากที่โรงเรียนเมื่อวานนี้) |
Linda did not give any money to her younger brother. |
(ลินดาไม่ได้ให้เงินแก่น้องชายของหล่อน) |
Take great care of your health. |
(เอาใจใส่ต่อสุขภาพของคุณให้มากหน่อย) |
|
|
ข้อสังเกต : much, any, great ในประโยชน์ทั้ง 3 เป็นคำคุณศัพท์บอกปริมาณ |
ตัวอย่างเช่น : |
|
|
|
4. Numberal Adjective คือ "คำคุณศัพท์บอกจำนวนแน่นอน" หมายถึง คำที่ไปขยายนาม เมื่อบอกจำนวนแน่นอนของนามว่ามีเท่าไหร่ แบ่งเป็นชื่อย่อยได้ 3 ชนิด คือ |
|
|
4.1 Cardinal Numberal Adjective คือ คุณศัพท์ที่ใช้บอกจำนวนนับที่แน่นอนของนาม ได้แก่ |
one, two, three, four, five, six, seven, etc. |
ตัวอย่างเช่น : |
|
She gave me two apples and three organes. |
(หล่อนให้แอปเปิ้ลสองผล และส้มสามผลแก่ฉัน) |
Bill wants to buy seven pens. |
(บิลต้องการซื้อปากกาเจ็ดด้าม) |
ข้อสังเกต : two, three, seven เป็นคุณศัพท์บอกจำนวนแน่นอนวางไว้หน้านาม |
|
|
4.2 Ordinanal Numberal Adjective คือ "คำคุณศัพท์ที่ใช้ขยายนามเพื่อบอกลำดับที่ของนามนั้นๆ ได้แก่ |
first, second, third, fifth, sixt, seventh, etc. |
ตัวอย่างเช่น : |
|
Tom is the first boy to be rewarded in this school. |
(ทอมเป็นเด็กคนแรกที่ได้รับรางวัลในโรงเรียนนี้) |
Sam won the third prize last month and the second one last week. |
(แซมได้รับรางวัลที่ 3 เมื่อเดือนที่แล้ว และสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้รับรางวัลที่ 2) |
I am the seventh son of my family. |
(ฉันเป็นลูกคนที่ 7 ของครอบครัว) |
ข้อสังเกต : first, third, second, seventh เป็นคุณศัพท์บอกลำดับที่วางไว้หน้านาม |
|
|
4.3 Mutiplicative Adjective คือ "คุณศัพท์บอกจำนวนทวีของนาม" ได้แก่ double, triple, fourfold |
ตัวอย่างเช่น : |
|
Some roses are double. |
(ดอกกุหลาบบางดอกก็มีกลีบ 2 ชั้น) |
Buddha, Dhamma, and Sangha are triple gems. |
(พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ คือแก้ว 3 ประการ) |
ข้อสังเกต : double, triple, เป็นคำคุณศัพท์บอกจำนวนทวีของนาม |
|
|
5. Demonstrative adjective คือ คุณศัพท์ชี้เฉพาะหรือนิยมคุณศัพท์ หมายถึง คําที่ชี้เฉพาะให้กับนามใดนามหนึ่ง ได้แก่ this, that (ใช้กับนามเอกพจน์), these ,those (ใช้กับนามพหูพจน์) such, same |
|
ตัวอย่างเช่น: |
|
I invited that man to come in. |
(ฉันได้เชิญผู้ชายคนนั้นให้เข้ามาข้างใน) |
Jan hated such things because they made her ill. |
(แจนเกลียดสิ่งเหล่านั้นเพราะมันทําให้เธอไม่สบาย) |
They said the same thing two or three times. |
(พวกเขาพูดถึงสิ่งเดียวกันนี้2หรือ3ครั้งแล้ว) |
ข้อสังเกต: that,such,same เป็นคุณศัพท์ชี้เฉพาะวางไว้หน้านาม |
|
|
6.interrogative adjective คือ คุณศัพท์บอกคําถาม หมายถึง คุณศัพท์ที่ใช้ขยายนามเพื่อให้เป็นคําถามโดยจะวางไว้ต้นประโยคและมีนามตามหลังเสมอ ได้แก่ what, which, whose |
|
ตัวอย่างเช่น: |
|
What book is he reading in the room? |
(เขากําลังอ่านหนังสืออะไรอยู่ในห้อง) |
Which way shall we go? |
(เราจะไปทางไหนกันนี่?) |
Whose shoes are these? |
(รองเท้านี้เป็นของใคร) |
|
ข้อสังเกต: what,which,whose เป็นคุณศัพท์บอกคําถามอยู่หน้าประโยค |
|
|
7. Possessive adjective คือ คุณศัพท์บอกเจ้าของหรือสามีคุณศัพท์ หมายถึง คําคุณศัพท์ที่ใช้ขยายนามเพื่อบอกความเป็นเจ้าของของนาม ได้แก่ my,our,your,his,her,its และ their |
ตัวอย่างเช่น : |
|
This is my table. |
|
(นี่คือโต๊ะของฉัน) |
|
Her pen is on my desk. |
(ปากกาของหล่อนอยู่บนโต๊ะฉัน) |
Our nation needs solidarity. |
(ชาติของเราต้องการความสามัคคี) |
Their parents work hard every day. |
(พ่อแม่ของพวกเขาทํางานหนักทุกวัน) |
ข้อสังเกต : my, her, our, their เป็นคุณศัพท์บอกเจ้าของวางไว้หน้านาม |
|
|
8. Distributive คือ คุณศัพท์แบ่งแยก หมายถึง คําคุณศัพท์ที่ไปขยายนาม เพื่อแยกนามออกจากกันเป็น อันหนึ่ง หรือส่วนหนึ่งได้แก่ each(แต่ละ), every(ทุกๆ), either(ไม่อันใดก็อันหนึ่ง), neither(ไม่ทั้งสอง) |
ตัวอย่างเช่น : |
|
The two men had each a gun. |
(ชายสองคนนี้มีปืนคนละกระบอก) |
Every soldier is punctually in his place. |
(ทหารทุกคนเข้าประจําที่ของตัวตรงเวลาดี) |
Either side is a narrow lane. |
(ไม่ข้างใดก็ข้างหนึ่งเป็นซอยแคบ) |
Neither accusation is true. |
(ข้อกล่าวหาทั้งสองข้อไม่เป็นความจริง) |
ข้อสังเกต: each,every,either,neither เป็นคุณศัพท์แบ่งแยกมาขยายนาม |
|
|
9. Emphasizing Adjective คือ คุณศัพท์เน้นความ หมายถึงคุณศัพท์ที่ใช้ขยายนามเพื่อเน้นความให้มีนำหนักขึ้น ได้แก่ own(เอง),very(ที่แปลว่า นั้น,นั้นเอง,นั้นจริงๆ) |
ตัวอย่างเช่น: |
|
Linda said that she had seen it with her own eyes. |
(ลินดาพูดว่าหล่อนได้เห็นมันมากับตาเธอเอง) |
He is the very man who stole my wrist watch last night. |
(เขาคือชายคนนั้นผู้ซึ่งได้ขโมยนาฬิกาข้อมือของฉันไปเมื่อคืนนี้) |
Jean is my own girl-friend. |
(จีนคือแฟนผมเอง) |
|
ข้อสังเกต : own,very เป็นคุณศัพท์เน้นความขยายนามที่ตามหลังให้มีนําหนักขึ้น |
|
|
10. Exclamatory Adjective คือ คุณศัพท์บอกอุทาน หมายถึง คุณศัพท์ที่ใช้ขยายเพื่อให้เป็นคําอุทาน ได้แก่ what |
ตัวอย่างเช่น: |
|
What a man he is! |
|
(เขาเป็นผู้ชายอะไรนะเนี่ย!) |
What an idea it is! |
|
(มันเป็นความคิดอะไรกันหนอ!) |
What a piece of work he does! |
(เขาทํางานได้เยี่ยมจริงๆ!) |
ข้อสังเกต : what ทั้ง 3 คํา ในประโยคเหล่านี้เป็นคุณศัพท์บอกอุทาน |
|
|
11. Relative Adjective คือ คุณศัพท์สัมพันธ์ หมายถึง คุณศัพท์ที่ใช้ขยายนามที่ตามหลังและในขณะเดียวกันก็ยังทําหน้าที่คล้ายส้นธานเชื่อมความในประโยคของตัวเองกับประโยคข้างหน้าให้สัมพันธ์กันอีกด้วย ได้แก่ |
what(อะไรก็ได้),whichever(อันไหนก็ได้) |
|
ตัวอย่างเช่น: |
|
Give me what money you have. |
(จงให้เงินเท่าที่คุณมีอยู่แก่ฉัน) |
I will take whichever horse you don t want. |
(ฉันจะนําเอาม้าตัวที่คุณไม่ต้องการ) |
He will read what book he wishes. |
[ แซมจะอ่านหนังสืออะไรก็ได้ที่เขาปราถนา (จะอ่าน) ] |
ข้อสังเกต : What, Whichever เป็นคุณศัพท์สัมพันธ์ ไปขยายนามที่ตามหลัง และในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่เชื่อมประโยคหน้าและประโยคหลังให้กลมกลืนกันอีกด้วย |
|
|
Adjective เวลานำไปพูดหรือเขียนมีวิธีใช้อยู่ 4 อย่างคือ |
|
|
1. เรียงไว้หน้าคำนามที่คุณศัพท์นั้นไปขยายโดยตรงได้ เช่น |
* The thin man can run very quickly. |
(คนผอมสามารถวิ่งได้เร็วมาก) |
* A wise boy is able to answer a difficult problem. |
(เด็กฉลาดสามารถตอบปัญหาที่ยากได้) |
* The beautiful girl is wanted by a young boy. |
(สาวสวยย่อมเป็นที่หมายตาของเด็กหนุ่ม) |
ข้อสังเกต : thin , wise , difficult , beautiful ,young เป็น |
คุณศัพท์เรียงขยายไว้หน้านามโดยตรง |
|
|
2. เรียงไว้หลัง Verb to be, look feel,seem,get,taste,smell, |
turn,go,appear,keep,become,sound,grow,etc. ก็ได้ Adjective |
ที่เรียงตามกริยาเหล่านี้ ถือว่าขยายประธาน แต่วางตามหลังกริยา |
เพราะฉะนั้นจึงมีชื่อเรียกได้อีกอย่างหนึงว่า Subjective Complement เช่น |
* I'm feeling a bit hungry. |
(ฉันรู้สึกหิวนิดๆ) |
|
* Sugar tastes sweet. |
(น้ำตาลมีรสหวาน) |
|
ข้อสังเกต: hungry และ sweet เป็น Adjective เรียงไว้หลัง |
กริยา feeling และ tastes ทั้งนั้น |
|
|
3. เรียงคำนามที่ไปทำหน้าที่เป็นกรรม (Object) ได้ ทั้งนี้เพื่อ |
ช่วยขยายเนื้อความของกรรมนั้นให้สมบรูณ์ขึ้น Adjiective ที่ใช้ในลักษณะเช่นนี้เรียกว่าเป็น Objiective Complement เช่น |
|
* Sam made his wife happy. |
(แซมทำภรรยาของเขาให้มีความสุข) |
* I consider that man mad. |
(ฉันพิจารนาดูแล้วว่า ชายคนนั้นเป็นบ้า) |
*This matter made me foolish. |
(เรื่องนี้ทำให้ฉันโกรธไปได้) |
ข้อสังเกต: happy,mad และ foolish เป็น Adjective ให้เรียง |
หลังนาม และสรรพนามที่เป็น Object คือ wife,man,me |
|
|
4. เรียง Adjective ไว้หลังคำนามได้ ไม่ว่านามนั้นจะทำหน้าที่เป็นอะไรก็ตาม ถ้า Adjective ตัวนั้นมี |
บุพบทวลี (Perpositional Phrase)มาขยายนามตามหลัง เช่น |
* A parcel posted by mail today will reach him tomorrow. |
(พัสดุที่ส่งทางไปรษณีย์วันนี้จะถึงเขาวันพรุ่งนี้) |
ข้อสังเกต: posted เป็น Adjective เรียงตามหลังนาม parcal ได้เพราะมีบุพบทวลี by mail today มาขยายตามหลัง |
* I have known the manager suitable for his position. |
(ฉันได้รู้จักผู้จัดการซึ่งก็มีความเหมาะสมสำหรับตำแหน่งของเขา) |
ข้อสังเกต: suitable เป็นคุณศัพท์ เรียงไว้หลังนาม manager ได้เพราะมีบุพบท วลี for his position มาขยายตามหลัง |
* ข้อยกเว้น ในการใช้ Adjecive บางตัวเมื่อไปขยายนาม |